IT-1RD สิ่งดีดีที่มอบให้คุณ

วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ไอโฟน


ไอโฟน (iPhone) เป็นโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตและมัลติมีเดีย ผลิตและจำหน่ายโดยบริษัทแอปเปิล โดยการทำงานของไอโฟนสามารถใช้งานส่งอีเมล ใช้เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่งเอสเอมเอส ท่องอินเทอร์เน็ตผ่านทางซอฟต์แวร์ซาฟารี ค้นหาแผนที่ ฟังเพลง และความสามารถอื่น โดยมีอุปกรณ์หลักประกอบด้วย Wi-Fi (802.11b/g) บลูทูธ 2.0 และกล้องถ่ายภาพ 2.0-megapixel ไอโฟนรุ่นแรกมีลักษณะ 2.5G quad band GSM และ EDGE และรุ่นที่สองใช้ UMTS และ HSDPA
แอปเปิลได้เปิดเผยไอโฟนรุ่นแรกโดย สตีฟ จอบส์ ในงานแม็คเวิลด์ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2550 และวางจำหน่ายครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ไอโฟนได้ชื่อว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ยอดเยี่ยมประจำปีจากนิตยสารไทม์ ประจำปี 2550 ไอโฟน 3G หรือไอโฟนรุ่นที่สอง ได้มีการเปิดตัวในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2551 โดยมีการเปิดตัวของคุณสมบัติการใช้งาน GPS ร่วมเข้ามา
การทำงานของโทรศัพท์ไอโฟนนี้จะแตกต่างจากโทรศัพท์มือถืออื่น โดยไอโฟนจะไม่มีปุ่มสำหรับกดหมายเลขโทรศัพท์ โดยการทำงานทั้งหมดจะทำงานผ่านหน้าจอโดยการสัมผัสมัลติทัชผ่านคำสั่งต่างๆ โดยมีระบบปฏิบัติการหลักแมคโอเอสเท็น และมีระบบเซ็นเซอร์ในการรับรู้สภาพของเครื่องเพื่อกำหนดการแสดงผลของจอภาพ เช่นหากวางเครื่องในแนวตั้งระบบก็จะปรับให้แสดงผลในแนวตั้ง หากวางในแนวนอนระบบก็จะแสดงผลในแนวนอน


การวางจำหน่าย

ไอโฟนเริ่มมีวางจำหน่ายครั้งแรกเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550 โดยร่วมมือกับเครือข่ายเอทีแอนด์ทีไวร์เลสส์ (ในขณะนั้นในชื่อ ซิงกิวลาร์ไวร์เลสส์) โดยก่อนวันจำหน่ายร้านแอปเปิลได้ปิดร้านในช่วงบ่าย 2 โมงเพื่อเตรียมตัวขายไอโฟนในเวลา 6 โมงเย็นตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งมีผู้ใช้รอคิวเข้าซื้อเป็นจำนวนมาก โดยทางแอปเปิลขายไอโฟนได้ 270,000 เครื่อง ในช่วง 30 ชั่วโมงที่เปิดจำหน่ายโดยในปัจจุบันไอโฟนรุ่นแรกมีวางจำหน่ายในหกประเทศได้แก่ ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรีย และสหรัฐอเมริกา
โดยในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ไอโฟนรุ่นใหม่ หรือที่รู้จักในชื่อ ไอโฟน 3G จะมีการวางจำหน่ายใน 22 ประเทศ ซึ่งรวมถึง 6 ประเทศที่มีวางจำหน่ายแล้ว และหลังจากนั้นจะมีวางจำหน่ายเพิ่มขึ้นอีกใน 48 ประเทศทั่วโลก รวมเป็นทั้งหมด 70 ประเทศ โดยในอาเชียนจะมีประเทศสิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ที่มีการจำหน่ายไอโฟนอย่างเป็นทางการโดยในสหรัฐอเมริกานั้น ผู้ซื้อไอโฟนรุ่นใหม่จำเป็นต้องจดสัญญากับเอทีแอนด์ทีเป็นระยะเวลาสองปี

วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

หุ่นยนต์



หุ่นยนต์ หรือ โรบอต (Robot) คือเครื่องจักรกลชนิดหนึ่ง มีลักษณะโครงสร้างและรูปร่างแตกต่างกัน หุ่นยนต์ในแต่ละประเภทจะมีหน้าที่การทำงานในด้านต่าง ๆ ตามการควบคุมโดยตรงของมนุษย์ การควบคุมระบบต่าง ๆ ในการสั่งงานระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ สามารถทำได้โดยทางอ้อมและอัตโนมัติ โดยทั่วไปหุ่นยนต์ถูกสร้างขึ้นเพื่อสำหรับงานที่มีความยากลำบากเช่น งานสำรวจในพื้นที่บริเวณแคบหรืองานสำรวจดวงจันทร์ดาวเคราะห์ที่ไม่มีสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันเทคโนโลยีของหุ่นยนต์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านอุตสาหกรรมการผลิต แตกต่างจากเมื่อก่อนที่หุ่นยนต์มักถูกนำไปใช้ ในงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมีการนำหุ่นยนต์มาใช้งานมากขึ้น เช่น หุ่นยนต์ที่ใช้ในทางการแพทย์ หุ่นยนต์สำหรับงานสำรวจ หุ่นยนต์ที่ใช้งานในอวกาศ หรือแม้แต่หุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเล่นของมนุษย์ จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้หุ่นยนต์นั้นมีลักษณะที่คล้ายมนุษย์ เพื่อให้อาศัยอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ ให้ได้ในชีวิตประจำวัน

หุ่นยนต์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน คือ

1.หุ่นยนต์ชนิดที่ติดตั้งอยู่กับที่ (fixed robot) เป็นหุ่นยนต์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้ด้วยตัวเอง มีลักษณะเป็นแขนกล สามารถขยับและเคลื่อนไหวได้เฉพาะแต่ละข้อต่อ ภายในตัวเองเท่านั้น มักนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่นโรงงานประกอบรถยนต์

2. หุ่นยนต์ชนิดที่เคลื่อนที่ได้ (mobile robot) หุ่นยนต์ประเภทนี้จะแตกต่างจากหุ่นยนต์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ เพราะสามารเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง โดยการใช้ล้อหรือการใช้ขา ซึ่งหุ่นยนต์ประเภทนี้ปัจจุบันยังเป็นงานวิจัยที่ทำการศึกษาอยู่ภายในห้องทดลอง เพื่อพัฒนาออกมาใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ เช่นหุ่นยนต์สำรวจดาวอังคาร ขององค์การนาซ่า

ปัจจุบันมีการพัฒนาหุ่นยนต์ให้มีลักษณะเป็นสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัข เพื่อให้มาเป็นเพื่อนเล่นกับมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ IBO ของบริษัทโซนี่หรือแม้กระทั่งมีการพัฒนาหุ่นยนต์ให้สามารถเคลื่อนที่แบบสองขาได้อย่างมนุษย์ เพื่ออนาคตจะสามารถนำไปใช้ในงานที่มีความเสี่ยงต่ออันตรายแทนมนุษย์ ในประเทศไทยสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาหลายแห่งหรือองค์กรของภาครัฐ และเอกชน ได้เล็งเห็นถึงประโยนช์ของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และร่วมเป็นแรงผลักดันให้เยาว์ชนในชาติ พัฒนาองค์ความรู้ เพื่อให้ก้าวทันเทคโนโลยีของประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยการจัดให้มีการแข่งขันหุ่นยนต์ขึ้นในประเทศไทยหลายรายการ เพื่อให้นักศึกษาได้สามารถ นำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้งานได้ เป็นการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะ เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาประเทศในอนาคต

วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

GPRS

GPRS General Packet Radio Service

หลังจากที่วงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการพัฒนาด้านการสื่อสารข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือและ None Voice Application อย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถสื่อสารได้ทุกรูปแบบอย่างไร้ขีดจำกัดในระหว่างเคลื่อนที่ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารด้วยเสียงหรือข้อมูล ดังนั้นผู้ให้บริการเครื่อข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่จึงได้พัฒนาและนำเทคโนโลยีอย่างที่เห็นกันในทุกวันนี้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เช่น


1: Short Message Service ( SMS )
- การใช้เทคโนโลยี่ SMS หรือการส่งข้อความ ที่กำลังได้รับความนิยมกันทั้วไปมากขึ้นทุกวันในบ้านเราขณะนี้
- Sim Tool Kit โดยใช้ Sim Card ที่ทางผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้พัฒนาและเพิ่มเติมบริการไว้ให้ใช้งานและบริการต่างๆง่ายมากยิ่งขึ้นดังในบ้านเราที่เห็นอยู่เป็นต้นว่า บริการ mobileLIFE จากเอไอเอส

2 : Circuit Switched Data ( CSD )

- WAP หรือ Wireless Application Protocol ที่สามารถ Connect กับโลกของข่าวสารข้อมูลกับ Wap Site ต่างๆ ได้ทั้วโลกแม้กระทั้งในรูปแบบของ Wireless Internet แต่อย่างไรก็ตามทางผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ยังเล็งเห็นว่า การโอนถ่ายสื่อสารข้อมูลของโทรศัพท์มือถือเคลื่อนที่ยังมีข้อจำกัดในด้านความเร็วการรับส่ง (9.6 - 28.8 kbps)และรวมไปถึงปริมาณข้อมูลที่สามารถทำการรับจึงได้เริ่มพัฒนาแก้ไขเพื่อที่จะเพิ่มเติมบริการตรงส่วนบกพร่องนี้ให้ดีขึ้นจึงได้เริ่มนำเทคโนโลยี่ทีเรียกว่า GPRS ( General Packet Radio Service)

3 : General Packet Radio Service ( GPRS )โดยคุณสมบัติเด่นหลักๆ ของระบบ GPRS นี้เห็นจะมีคือ- การโอนถ่ายข้อมูลที่มีความสามารถในการ รับ-ส่งผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้สูงถึง 9 - 40 kbps ซึ่งจะทำให้สามารถรับ-ส่งข้อมูลที่เป็น VDO Mail หรือ ภาพเคลื่อนไหวต่างๆได้ พร้อมทั้งเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมรวมถึงการ Down load/ Up load ได้ง่ายยิ่งขึ้น- Always On การเชื่อมต่อเครือข่ายและโอนถ่ายข้อมูลสามารถดำเนินต่อไป แม้ในขณะที่มีสายติดต่อเข้ามาก็ตาม จึงทำให้การโอนถ่ายข้อมูลไม่ขาดตอนลง- Wireless Internet ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Terminal เช่น PDA หรือ Note Bookสามารถที่จะโอนถ่ายข้อมูลได้เร็วขึ้นจากที่เคยเป็นอยู่

ว่าด้วยเรื่อง GPRS คืออะไร ? GPRS เป็นตัวย่อจากภาษาอังกฤษ " General Packet RadioService " บริการต่างๆที่ผ่านทาง Radio Interface ในระหว่างผู้ใช้ต้นทางและปลายทางซึ่งไม่ว่าจะเป็นApplication Server หรือแม้แต่ตัวโทรศัพท์เคลือนที่เองก็ตามจะถูกแปลงเป็น Packet ซึ่งมี IP Addressกำกับอยู่ภายใน ซึ่งจะไม่เหมือนเดิมที่เคยใช้กัน ( เดิมที่เคยใช้กันคือระบบ-Radio Frame ทีใช้กันในการส่งข้อมูลเสียงพูดบนระบบ GSM )อย่างไรก็ดี GPRS ไม่ได้เป็นลักษณะที่จะสามารถให้บริการได้ด้วยตัวของระบบเอง แต่ตัวมันเองเป็นเพียงแค่ Bearer ให้กับ Application ต่างๆ ที่ต้องการใช้ความเร็วที่เพิ่มมากกว่าปกติในระบบ GSM ที่เคยรองรับอยู่เดิมมาก่อน และระบบ GPRS จะต้องต่อไปยัง Packet Data Network ที่เป็น IP Network อีกต่อหนึ่ง

ดั้งนั้นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่จะเปิดให้ใช้ในระบบ GPRS ได้นั้นจะต้องทำการติดตั้งระบบเครือข่าย ที่ประกอบด้วยหน่วยหลักๆ 2หน่วยด้วยกันคือ
1 / SGSN(Serving GPRS Supports Node)2 / GGSN(Gateway GPRS Support Node)
โดยทั้งสองหน่วยหลักขององค์ประกอบนี้จะถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยมีอุปกรณ์อื่นๆ เป็นตัวช่วยเพื่อไปร่วมใช้Radio Interface จาก Base Station โดยผ่านตัวควบคุมที่เรียกว่า PCU (PacketControl Unit ) ที่ติดตั้งไว้ที่ BSC (Base Station Controller) อันทั้งนี้อาจมองได้ว่า GPRSNetwork เป็นอีก Network หนึ่ง ซึ่งเข้าถึง Mobile Phone ผ่านทาง Radio Interfaceของระบบ GSM Network เดิม โดยเป็นบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการรับส่งข้อมูลเป็น Packet โดยตรง

วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

4G

4G มาจากคำเต็มว่า ระบบสื่อสารไร้สายยุคที่ 4 ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของบรรดาผู้ให้บริการสื่อสารไร้สาย ผู้ผลิตเครื่องอุปกรณ์ (OEMs) นักลงทุน และผู้คนในวงการอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั่วโลกอยู่ในขณะนี้
หมายถึงเทคโนโลยีไร้สายยุคที่ 4 ที่มุ่งเน้นการรับ-ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง (สูงกว่าระบบไร้สายที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ ซึ่งรวมทั้งระบบ 3G ด้วย) และให้บริการมัลติมีเดียที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ทว่า ณ วันนี้ เทคโนโลยี 4G ยังไม่มีความชัดเจนเพียงพอ ที่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมจะยอมรับเป็นสากลได้


สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) เป็นองค์กรหนึ่ง ที่พยายามผลักดันอย่างมากในเรื่องมาตรฐานเทคโนโลยีโทรคมนาคม ได้ให้ความสนใจกับเทคโนโลยี 4G เช่นเดียวกัน และตั้งเป้าหมายการพัฒนาไว้ว่า

• เทคโนโลยีของระบบ 4G ควรจะเข้ากันได้กับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันซึ่งมีระบบการเข้าถึงที่ค่อนข้างหลากหลาย และใช้ได้ดีกับเครือข่ายสื่อสารส่วนบุคคล (PAN)
• อัตราการรับ-ส่งข้อมูลควรทำได้ 100 Mbps สำหรับการใช้งานลักษณะเคลื่อนที่ และในปี ค.ศ. 2010 ควรทำได้อย่างน้อย 1 Gbps สำหรับการใช้งานทั่วไป
• เป็นมาตรฐานสากล แบบเปิด ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับสเปคตรัมที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลกในขณะนี้
ในขณะที่มุมมองของ WWRF (Wireless World Research Forum) คาดหมายว่า เครือข่าย 4G ควรจะเป็นเครือข่ายที่สามารถทำงานบนเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ร่วมกับเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้งานอื่นๆ เช่น WiFi และ WiMAX โดยมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลตั้งแต่ 100 Mbps (สำหรับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วไป) จนถึง 1 Gbps (สำหรับเครือข่าย WiFi ท้องถิ่น)
ที่สำคัญคือ ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งทางด้านหน่วยงาน ที่มีหน้าที่จัดทำมาตรฐาน และนักสังเกตการณ์อุตสาหกรรมว่า WiMAX น่าจะมีโอกาสแปลงกลายเป็นเทคโนโลยี 4G ที่มีความสมบูรณ์มากกว่าเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย 4G ที่พยายามพัฒนากันใหม่ขณะนี้


การพัฒนาไปสู่มาตรฐาน


ย้อนกลับไปดูประวัติการพัฒนาของเทคโนโลยี 4G แล้ว จะเห็นว่าเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่มีหนทางการพัฒนาที่ค่อนข้างยาวนาน หลายๆ กลุ่มและหลายๆ องค์กรที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผลลัพธ์สุดท้ายได้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยมากมาย ซึ่งในจำนวนนี้ประกอบด้วยองค์กรพัฒนามาตรฐาน (SDO - Standards Development Organizations) , สมาคมอุตสาหกรรม และบรรดาบริษัทต่างๆ (เช่น OEM)
โดย SDO ที่สำคัญๆ หลายองค์กรเป็นองค์กรระดับภูมิภาคที่ไม่แสวงหากำไร และบางองค์กรมีฐานะเป็นองค์กรของรัฐ เช่น ETSI ในยุโรป CCSA ในจีน และ TTA ในเกาหลี สมาคม 3GPP และ 3GPP2 ก็เป็น SDO ทางอุตสาหกรรมที่พัฒนาและดูแลมาตรฐานของเทคโนโลยี 2G และ 3G อยู่ด้วยในขณะนี้
ในปีนี้ (ค.ศ.2007) ITU จะพยายามโน้มน้าวในการประชุมต่างๆ ทั่วโลกให้ช่วยกันเร่งพัฒนามาตรฐาน 4G ให้มากขึ้น แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าเราจะได้เห็นมาตรฐานของ ITU ได้ก่อนหรือหลัง ค.ศ. 2010 ตามที่ ITU เคยคาดหมายไว้ก่อนหน้านี้

นิยามมาตรฐาน 4G ยังไม่เห็นชัด

กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยี ซีดีเอ็มเอ (CDMA development group) หรือ CDG ซึ่งตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา กำลังผลักดันความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลของเทคโนโลยี 1xEV-DO ให้เป็นไปตามที่คาดหวังว่าจะได้จากเทคโนโลยี 4G
โดยใน Revision C ของกลุ่ม ได้วางแผนที่จะใช้เทคโนโลยีสายอากาศของ CDMA, TDM, OFDM และ MIMO (Multiple Input Multiple Output) หรือแม้แต่ SSDMA (Space Division Multiple Access) เพื่อเพิ่มความเร็วในการดาวน์โหลดให้สูงขึ้นถึง 280 Mbps โดยเรียกมาตรฐานใหม่นี้ว่า Ultra mobile Broadband
ทางด้านบริษัท โดโคโมะ ของญี่ปุ่น และบริษัท ซัมซุง ของเกาหลี อยู่ในขั้นตอนของการทดสอบต้นแบบระบบสื่อสาร 4G ที่เรียกว่า Variable Spreading Factor Orthogonal Frequency and Code Division Multiplexing หรือ VSF-OFCDM ที่สามารถทำความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้ถึง 100 Mb/s ขณะเคลื่อนที่ และ 1 Gb/s ในขณะอยู่กับที่ (ITU เรียกสภาพนี้ว่า “nomadic”) โดยทั้งสองบริษัทวางแผนที่จะนำเครือข่ายดังกล่าวมาใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้เป็นครั้งแรกภายใน ค.ศ. 2010
อีกทางเลือกหนึ่งของการพัฒนา 4G ที่มีการเปิดเผยกันคือ โครงการที่เรียกว่า 3GPP LTE (Long Term Evolution) project ซึ่งเป็นชื่อที่ได้จากการริเริ่มขึ้นในโครงการ Third Generation Partnership (3GPP) Project เพื่อเพิ่มสมรรถนะของมาตรฐาน UMTS 3G
อย่างไรก็ตาม โครงการ LTE นี้ไม่ใช่มาตรฐาน แต่กำลังจะกำหนดให้เป็น “คล้าย 4G” สำหรับผู้ให้บริการ UMTS ทั้งนี้ในบรรดาเทคโนโลยีดังกล่าว องค์กรที่ทำการวิจัยหลายๆ แห่งกำลังคิดว่า 3G LTE จะเข้ามามีบทบาทมากที่สุด จนบางครั้งมีการเรียกเทคโนโลยี 3G LTE นี้ว่า 3.99G หรือไปไกลกว่านั้นเรียกว่า “Super 3G” เลยก็มี

คอขวดอยู่ที่สเปคตรัมใช้งาน

แนวทางการพัฒนาไปสู่ 4G โดยยังคงมุ่งเน้นที่บริการที่มีการรับ-ส่งข้อมูลความเร็วสูง และสามารถประยุกต์ด้านมัลติมีเดียได้กว้างขวางขึ้นนั้น จำเป็นต้องใช้สเปคตรัมความถี่วิทยุเพิ่มขึ้นด้วย ในเรื่องนี้คณะกรรมการสื่อสารแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (FCC) ได้อนุมัติการใช้คลื่นความถี่ 700 MHZ สำหรับการใช้งาน 4G ในสหรัฐแล้วโดยผ่านทางการประมูล
อย่างไรก็ดีการใช้แถบความถี่ดังกล่าวนี้ สำหรับบริการไร้สายเคลื่อนที่ คงจะต้องรออีกเป็นปี เนื่องจากยังมีความยุ่งยาก ในการย้ายการใช้งานของกิจการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ ที่ได้ให้ใบอนุญาตไปแล้วให้เรียบร้อยก่อน
นอกจากนี้ ยังไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนักหากจะทำให้สามารถ ใช้สเปคตรัม 4G เช่นเดียวกันได้ทั่วโลก ซึ่งที่ผ่านมาก็เห็นได้ชัดแล้วว่าเป็นไปได้ยากในกรณีของเครือข่าย 2G และ 3G

ภาพรวมทางธุรกิจของ 4G

เทคโนโลยี 4G คงจะยังไม่เข้ามามีบทบาทในตลาดไร้สายในระยะเวลา 4 - 5 ปีข้างหน้า รวมทั้งเมื่อต้นปีนี้ (พ.ศ. 2550) ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่ ก็ยังคงเลือกใช้เทคโนโลยีที่จะต้องลงทุนไปอีกอย่างน้อย 15 ปี คือ เทคโนโลยี GSM เดิม หรือเทคโนโลยี 3G ใหม่ๆ เช่น CDMA2000 1xEV-DO, WCDMA และ HSDPA ซึ่งให้ network capacity มากกว่า และมีค่าใช้จ่ายในการให้บริการมัลติมีเดียที่ต่ำกว่าเช่นเดียวกับการสื่อสารข้อมูลบรอดแบนด์ อีกด้วย
เห็นทีว่าเราคงต้องรอไปจนกว่า ITU และบรรดากลุ่มที่จัดทำมาตรฐานแห่งชาติ (เช่น กลุ่ม 3GPP) และสมาคม 3GPP2 จะพัฒนามาตรฐาน 4G ได้แล้วเสร็จสมบูรณ์อย่างเป็นทางการ

วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

WiMAX

ไวแม็กซ์ (WiMAX) เป็นเทคโนโลยีบนบรอดแบนด์แบบไร้สาย ซึ่งคาดว่าจะถูกนำมาให้ใช้กันทั่วภูมิภาคเอเชีย ซึ่งปัจจุบันประเทศเวียดนาม และอินโดนีเซีย ได้มีการลงทุนริเริ่มกันไปเรียบร้อยแล้ว สำหรับประเทศไทยได้มีการทดลองติดตั้งบางส่วนในหลายจังหวัด อาทิ นครราชสีมา ขอนแก่น หาดใหญ่ เชียงใหม่ เป็นต้น โดยแต่เดิมเราจะใช้บรอดแบนด์แบบมีสายเชื่อมต่อเข้าหากันผ่านทางสาย Lan หรือแบบไร้สายในระยะใกล้ๆเท่านั้น แต่เทคโนโลยีที่มีอยู่บนไวแม็กซ์ (WiMAX) จะสามารถสร้างเครือข่ายแบบไร้สายแบบหนึ่งจุดเชื่อมต่อไปยังอีกหลายจุดได้ อีกทั้งยังสามารถทำงานในระยะรัศมีที่ไกลๆออกไปเป็นกิโลๆเสมือนเป็น Hot Spot ขนาดใหญ่เลยที่เดียว....... ไวแม็กซ์ (WiMAX) บรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงนี้ถูกพัฒนาขึ้นบนมาตราฐานการสื่อสาร IEEE802.16 ซึ่งต่อมาก็ได้พัฒนามาอยู่บนมาตราฐาน IEEE802.16a โดยได้มีการอนุมัติออกมาเมื่อเดือนมกราคม 2004 โดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) ซึ่งมีระยะรัศมีทำการที่ 31 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร นั่นก็หมายความว่า ไวแม็กซ์ (WiMAX) จะสามารถทำงานได้ครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่าระบบโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่บนระบบ 3G มากถึง 10 เท่า พร้อมยังมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นมัลติมีเดียที่มีทั้งภาพและเสียงหรือจะเป็นข้อมูลล้วนๆก็ตามได้สูงสุดถึง 75 เมกกะบิตต่อวินาที (Mbps) ซึ่งก็เร็วกว่าระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ 3G มากถึง 30 เท่าเลยที่เดียว โดยมาตราฐาน IEEE 802.16a หรือ WiMAX มีความสามารถในการส่งกระจายสัญญาณในลักษณะจากจุดเดียวไปยังหลายจุด (Point-to-multipoint) ได้พร้อมๆกัน โดยมีความสามารถรองรับการทำงานในแบบ Non-Line-of-Sight ได้ สามารถทำงานได้แม้กระทั่งมีสิ่งกีดขวาง เช่น ต้นไม้ หรือ อาคารได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้WiMAX สามารถช่วยให้ผู้ที่ใช้งาน สามารถขยายเครือข่ายเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้กว้างขวางด้วยรัศมีทำการถึง 31 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 Mbps มาตราฐาน IEEE 802.16a นี้ใช้งานอยู่บนคลื่นไมโครเวฟที่มีความถี่ระหว่าง 2-11 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) และยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์มาตราฐานชนิดอื่นๆที่ออกมาก่อนหน้านี้ได้เป็นอย่างดี

วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

แลนไร้สาย

แลนไร้สาย หรือ ไวเลสแลน (Wireless LAN, WLAN) คือระบบที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเข้าด้วยกันเป็นเครื่อข่ายภายในพื้นที่แบบไร้สาย โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุในการเชื่อมต่อหรือสื่อสารกัน การเชื่อมต่อแลนไร้สายมีทั้งแบบเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน และเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point)


นิยาม

ไวเลส (Wireless) คือ ไม่มีสาย ลองนึกภาพถึงแลนปกติที่เชื่อมต่อกันระหว่างคอมพิวเตอร์กับสวิตซ์ (Switch) หรือฮับ (Hub) ด้วยสายสัญญาณที่เรียกว่า สาย UTP แต่ไวเลส คือการเชื่อมต่อที่ไม่มีมีสายแลนนั่นเอง
แลน (LAN) คือระบบที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายภายในพื้นที่ เช่นระบบแลนภายในบ้าน ในบริษัทหรือองค์กร ในมหาวิทยาลัย เป็นต้น มาตราฐานความเร็วของแลนไร้สาย ความเร็วที่ใช้ในการสื่อสารกันหรือเชื่อมต่อกัน มีมาตราฐานรองรับ เช่น IEEE 802.11a, b และ g ซึ่งแต่ละมาตราฐานจะบอกถึงความเร็วและคลื่นความถี่ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน เช่น

สำหรับมาตรฐาน IEEE 802.11a มีความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbps ที่ความถึ่ย่าน 5 GHz
สำหรับมาตรฐาน IEEE 802.11b มีความเร็วสูงสุดที่ 11 Mbps ที่ความถี่ย่าน 2.4 GHz
สำหรับมาตรฐาน IEEE 802.11g มีความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbps ที่ความถี่ย่าน 2.4 GHz

ในประเทศไทยอนุญาตให้ใช้ช่องคลื่นความถี่ที่ 2.4 GHz เป็นคลื่นความถี่เสรี ที่ทุกคนสามารถติดตั้งและใช้งานได้ จึงทำให้ในประเทศไทยจะมีอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point) ที่จำหน่ายเพียงสองมาตราฐานคือ IEEE 802.11b และ g เท่านั้น