IT-1RD สิ่งดีดีที่มอบให้คุณ

วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551

Harddisk

Harddisk อ่านว่า ฮาร์ดดิสก์ อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูล ซึ่งอยู่ภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากที่สุดตัวหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเป็นตัวเก็บโปรแกรม ข้อมูลต่างๆ ซึ่งทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ ถ้าไม่มีและมีปัญหาย่อมมีผลกับระบบคอมพิวเตอร์แน่นอน
มารู้จักฮาร์ดดิสก์กันก่อน ฮาร์ดดิกส์ คืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมที่สำคัญมากที่สุดในระบบคอมพิวเตอร์ หลาย ๆ คนอาจเรียก "Fix Disk" เนื่องจากเป็นดิสก์ที่ถูกยึดติดแน่นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปเราไม่สามารถมองเห็นตัวฮาร์ดดิสก์ เนื่องจากถูกติดตั้งอยู่ภายใน ถ้าต้องการดู จำเป็นจะต้องเปิดฝาครอบตัวเครื่องจึงจะมองเห็น ไดร์ซของฮาร์ดดิกส์ปกติ จะเริ่มต้นจาก drive C: (คอมพิวเตอร์ 1 เครื่องสามารถติดตั้งฮาร์ดดิสก์ได้มากกว่า 1 ตัว) ความจุของฮาร์ดดิสก์เนื่องจากฮาร์ดิกส์เป็นที่เก็บทั้งข้อมูลต่าง ๆ และโปรแกรม ดังนั้นขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ จึงเป็นส่วนสำคัญในการเลือกนำมาใช้งาน และเนื่องจากโปรแกรมในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น windows และโปรแกรมอื่น ๆ มักมีขนาดใหญ่มากขึ้น สำหรับความจุของฮาร์ดดิสก์ มีหน่วยเป็น กิกะไบต์ (GB : Gigabyte) เช่น 20 GB, 40 GB, 80 GB เป็นต้น ลักษณะการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ การเชื่อมต่อมีคำศัพท์เรียกเป็นทางการว่า อินเตอร์เฟส "Interface" เราสามารถแบ่งลักษณะการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิกส์ได้ 2 ประเภท
IDE และ E-IDE การเชื่อมต่อแบบ IDE (integrated Drive Electronics) เป็นการเชื่อมต่อแบบเก่า มีข้อจำกัดรองรับการทำงานของฮาร์ดดิสก์ได้แค่ 528 เมกกะไบต์ ส่วน E-IDE (Enhanced Integrated Drive Electronics) คือพัฒนาการของ IDE นั่นเอง สามารถรองรับการเชื่อมต่อในระดับ กิกะไบต์ ปัจจุบันการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ นิยมใช้แบบ E-IDE
SCSI การเชื่อมต่อแบบ SCSI (Small Computer System Interface) เป็นการเชื่อมต่อแบบความเร็วสูง นิยมใช้กับระบบเครือข่าย เนื่องจากมีราคาสูงกว่าการเชื่อมต่อแบบ E-IDE (การเชื่อมต่อแบบ SCSI นี้จะต้องมีการ์ด SCSI ติดตั้งภายในตัวเครื่องคอมฯอยู่ด้วย)ยี่ห้อของฮาร์ดดิสก์ในประเทศไทยมีฮาร์ดดิสก์ที่นิยมใช้กันมากได้ แก่ Seagate, IBM, Western Digital, Maxtor, Quantum, Fujitsu, Conner, Summer สำหรับวิธีการดูว่าเราใช้ฮาร์ดิกส์ยี่ห้ออะไร และมีความจุเท่าใด เราสามารถดูได้จากตัวฮาร์ดดิสก์โดยตรง


โครงสร้างฮาร์ดดิสก์ Harddisk ประกอบด้วยแผ่นวงกลมขนาดตั้งแต่ 2 - 5.25 นิ้วเรียงซ้อนกัน (แผ่นวงกลมนี้เราเรียกว่า disk) จะถูกบรรจุภายในกล่องปิดสนิท ไม่ให้อากาศหรือฝุ่นเข้าไปถึงกัน โดยมีหัวอ่านอยู่ขั้นระหว่างแผ่นดิสก์ โดยปกติหัวอ่านจะมี 2 หัวต่อแผ่นดิสก์ 1 จาน สำหรับแผ่นดิสก์แต่ละจาน พื้นผิวของจานดิกส์ (เราเรียกว่า Platter) จะถูกแบ่งเป็นวง ๆ เราเรียกว่า แทร็ค (Track) โดยเริ่มนับจากวงนอกสุด ว่า track หมายเลข 0 (จำนวน track มาก Harddisk ก็ยิ่งมีความจุมาก) นอกจากนี้เราในส่วนของ track ยังมีการแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ตามแนวเส้นผ่าศูนย์กลางอีก เราเรียกว่า เซ็กเตอร์ (sector) ส่วน ไซลินเดอร์ (cylinders) จะหมายถึง ตำแหน่งของ track ของทุก ๆ platter นั้นเอง Master Boot Record (MBR)การทำงานของฮาร์ดดิสก์ จะมีตำแหน่งในการเริ่มต้นระบบ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่อยู่ Cylinder 0, Head 0 และ Sector 1 ซึ่งถือว่าเป็น sector แรกบนดิสก์ เราเรียกว่า "Master Boot Record" ถ้า MBR เสียหรือมีปัญหาจากไวรัส จะทำให้เราไม่สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ สำหรับวิธีแก้ไข MBR เสีย ให้เราบู๊ตเครื่องด้วยแผ่น boot จากนั้นให้พิมพ์คำสั่ง Fdisk /mbr (คำสั่งนี้จะไปทับ MBR เดิมที่มีปัญหา)
พาร์ติชั่นฮาร์ดดิสก์ พาร์ติชั่นคืออะไร พาร์ติชั่น (partition) คือ การแบ่งพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์เป็นส่วน ๆ หรือแบ่งเป็นหลาย ๆ ไดร์ซ เพื่อนี้เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลและโปรแกรม โดยปกติเราควรแบ่งพาร์ติชั่นอย่างน้อยเป็น 2 ไดร์ซ คือ C: และ D: (C: สำหรับติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ ส่วน D: สำหรับติดตั้งข้อมูล และเพื่อสำรองข้อมูล) โดยปกติเมื่อมีการใช้งาน windows ไปสักพักหนึ่ง มีการติดตั้งโปรแกรมใหม่ ๆ และยกเลิกการติดตั้งบ่อยๆ จะทำให้ระบบ windows มีปัญหา ทางแก้ไขที่ดีที่สุดคือการ format ฮาร์ดดิสก์ และติดตั้งโปรแกรมใหม่ ดังนั้นถ้ามีไดร์ซเดียว จะทำให้มีปัญหาของข้อมูลที่เราต้องการสำรอง ประเภทของพาร์ติชั่นแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
-Primary Partition เป็นพาร์ติชั่นหลักของระบบคอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับในการบูตเข้าระบบคอมพิวเตอร์ พาร์ติชั่นหลักจะหมายถึง drive C:
-Extended Partition พาร์ติชั่นเสริม เพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลและโปรแกรม เมื่อมีการสร้าง extened partition จะเกิด Logical Partition อัตโนมัติ โดยเราสามารถแบ่งเป็นพาร์ติชั่นย่อย ๆ ได้ และสามารถกำหนด drive ได้ตั้งแต่ D จนถึง Z การสร้าง extended partition จะสร้างได้ ต้องสร้างหลัง primary partition แล้วเท่านั้น
Logical Partition เป็นพาร์ติชั่นที่อยู่ภายใต้ extened partition จะเกิด logical partition ได้ต่อเมื่อมีการสร้าง extened partition ก่อนเท่านั้น เวลาสร้าง partition จะใช้โปรแกรมชื่อ Fdisk.exe ช่วยในการสร้าง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก